แผนยุทธศาสตร์
วิสัยทัศน์
เพื่อเป็นประตูสู่โอกาสทางนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดลขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่มหาวิทยาลัยระดับโลก โดยผ่านการร่วมสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม
To be the innovation gateway of Mahidol University propelling the university towards World Class University through technology and innovation co-creation.
พันธกิจ
สร้างความเป็นเลิศในการบริหารจัดการ เพื่อขับเคลื่อนเทคโนโลยีและนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อประโยชน์สุขแก่มนุษยชาติ
โครงสร้าง
สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมมีโครงสร้างหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยประกอบด้วย 5 งานที่จะทำงานประสานกัน ได้แก่
1.งานบริการวิจัยและวิชาการ (Division of Research and Academic Services)ดูแลงานบริการวิชาการ การรับจ้างวิจัย การรับข้อเสนอและรายงานผลดำเนินโครงการจากหน่วยงานภายนอก ทะเบียนผู้เชี่ยวชาญ จัดทำฐานข้อมูลโครงการบริการวิจัย/วิชาการที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลมหาวิทยาลัย
2.งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์ (Division of Technology Commercialization)ให้คำแนะนำและฝึกอบรมเกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินการจดแจ้ง ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ และ การถ่ายทอดเทคโนโลยีอันเกิดจากทรัพย์สินทางปัญญา ดูแลผลประโยชน์ของนักวิจัยและมหาวิทยาลัยที่ เกิดจากการใช้ประโยชน์ของทรัพย์สินทางปัญญา
3.งานระบบนิเวศผู้ประกอบการ (Division of Entrepreneurial Ecosystem)ดำเนินโครงการที่ ส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศน์ผู้ประกอบการ และกิจกรรมด้านการสร้างนวัตกรรม ตามนโยบายภาครัฐเพื่อสนับสนุน Thailand 4.0 ส่งเสริมการสร้างธุรกิจเริ่มต้น (startup) และสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยสร้างธุรกิจจากนวัตกรรมใหม่ รวมถึงการสนับสนุนนักวิจัยให้มีความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการสร้าง งานวิจัยเพื่อให้เกิดนวัตกรรม
4.งานยุทธศาสตร์และสื่อสารองค์กร (Division of Strategy and Corporate Communications)รับผิดชอบงานด้านยุทธศาสตร์ นโยบายและแผน ทรัพยากรบุคคล การประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ตลอดจนงานด้านเทคโนโลยีและสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนพันธกิจต่างๆ ของสถาบันฯ
5.งานบริหาร (Division of Administration)สนับสนุนการปฏิบัติงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพและชอบธรรม ดูแลระบบงานสนับสนุนทั้งหมด ได้แก่ การเงินและบัญชี กฎหมาย ทรัพยากรบุคคล สารบรรณ พัสดุ รวมถึงงานเลขานุการและประสานงาน เพื่อสนับสนุนพันธกิจต่างๆ ของสถาบันฯ

ยุทธศาสตร์
ยุทธศาสตร์1: ประตูสู่การเติบโตของกิจการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศด้านสุขภาพและสุขภาวะระดับโลกเพื่อสร้างสตาร์ทอัพที่มีการเติบโตสูง
ในฐานะศูนย์ผู้ประกอบการของมหาวิทยาลัยมหิดล INT มุ่งเพิ่มมูลค่าและความสำเร็จของสตาร์ทอัพในพอร์ตโฟลิโอ โดยการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพและสุขภาวะระดับโลกที่มีความโดดเด่นของมหาวิทยาลัย ทั้งในด้านบุคลากร ความเชี่ยวชาญ และบริการต่าง ๆ ภายในระบบนิเวศของมหาวิทยาลัย
ยุทธศาสตร์2: ประตูสู่ผลสัมฤทธิ์ของเทคโนโลยีผลักดันการพาณิชย์เทคโนโลยีผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงรุกและการวิจัยระดับแนวหน้า
ในฐานะสำนักงานถ่ายทอดเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยมหิดล INT มุ่งสร้างผลกระทบเชิงบวกจากการอนุญาตใช้เทคโนโลยีให้เพิ่มขึ้น ผ่านกระบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เสริมด้วยงานวิจัยด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์ในระดับแนวหน้าของประเทศ
ยุทธศาสตร์3: ประตูสู่การพัฒนาสุขภาวะผ่านบริการทางวิชาการส่งมอบบริการวิชาการที่สอดคล้องกับแนวโน้มด้านสุขภาพ ความยั่งยืน และความต้องการของสังคม
ในฐานะหน่วยบริหารบริการวิชาการของมหาวิทยาลัยมหิดล INT มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของสังคม ผ่านการให้บริการทางวิชาการและงานวิจัยที่สอดคล้องกับกระแสโลกด้านสุขภาพ ความยั่งยืน และสุขภาวะ ด้วยการสนับสนุนและพัฒนาบริการอย่างครบวงจร
ยุทธศาสตร์4: ประตูสู่การเปลี่ยนแปลงขององค์กรยกระดับการดำเนินงานด้วยระบบดิจิทัล นวัตกรรมกระบวนการ และความเป็นเลิศ
ในฐานะประตูสู่นวัตกรรมของมหาวิทยาลัยมหิดล INT มุ่งยกระดับการบริหารจัดการของสถาบัน โดยการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง เสริมด้วยการทำตลาดเชิงรุก และการพัฒนาศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวและประสิทธิภาพสูงสุด