หุ่นจำลองฝึกทักษะการฉีดยาชาด้วยวิธีฉีดยาเข้าด้านหลังลูกตา

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

            การฉีดยาชาด้วยวิธีฉีดยาเข้าด้านหลังลูกตาเป็นการระงับความรู้สึกเจ็บปวดแก่ผู้ป่วย และช่วยให้ตาของผู้ป่วยไม่เคลื่อนไหว ทำให้จักษุแพทย์ทำการผ่าตัดได้ง่ายขึ้น แต่การฉีดยาชาด้วยวิธีฉีดยาเข้าด้านหลังลูกตานี้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนแก่ผู้ป่วย เช่น ภาวะเลือดออกหลังลูกตา (retrobulbar hemorrhage) หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงกระทบต่อการมองเห็นของผู้ป่วยจนถึงขั้นตาบอดได้ เช่น เข็มฉีดยาทะลุ ลูกตา (globe perforation) จอประสาทตาหลุดลอก (retinal detchment) เข็มฉีดยาแทงเส้นประสาท (optic nerve injury) หรือฉีดยาเข้าเส้นเลือดโดยไม่ได้ตั้งใจ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยจนถึงแก่ชีวิตได้ ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาหุ่นจำลองฝึกทักษะการระงับความรู้สึกโดยวิธีการฉีดยาเข้าด้านหลังลูกตา เพื่อใช้สำหรับการเรียนการสอนในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุ เพื่อให้แพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 1 ฝึกทักษะการฉีดยาชาเข้าฉีดยาเข้าด้านหลังลูกตากับหุ่นจำลองฯ จนเกิดความชำนาญ และมีความมั่นใจ ก่อนไปเริ่มฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถทำให้หัตถการมีความแม่นยำ

ลดความเสี่ยงการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการฉีดยาได้มากขึ้น

ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการฉีดยา

ผู้สร้างผลงาน

ผศ.พญ.โสมนัส ถุงสุวรรณ และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu