การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

            สเปกโตรโฟโตมิเตอร์ (Spectrophometer) เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่จำเป็นในการวิเคราะห์ความเข้มข้นของสารละลายทั้งในทางชีวเคมี ทางอาหาร ทางการแพทย์ หรือแม้แต่วิทยาศาสตร์ทั่วไป และเนื่องจากสเปกโตรโฟโตมิเตอร์มีชิ้นส่วนอุปกรณ์ภายในที่เคลื่อนที่ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดความคาดเคลื่อนของการเลื่อนตำแหน่งของสลิตก็จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการตรวจวัดความเข้มข้นของสารไปด้วยจึงจำเป็นต้องมีการสอบเทียบ (Calibration) ทุกครั้ง ภายหลังจากการเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ นอกจากนี้อุปกรณ์จำเป็นต้องมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื่องจากต้องใช้พื้นที่และระยะทางสำหรับการแยกแสง โดยคุณภาพของเครื่องดังกล่าวขึ้นกับความบริสุทธิ์ของแสงสีเดียวที่แยกได้ และขนาดของสลิตที่ติดตั้งในอุปกรณ์ หากสลิตมีขนาดแคบมาก จะได้แสงที่มีช่วงคลื่นเดียวที่มีความบริสุทธิ์สูง แต่ส่งผลต่อราคาอุปกรณ์ที่มีราคาสูงตามไปด้วย

            จากปัญญาหาดังกล่าวข้างต้น ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ที่มีหลอดไฟแอลอีดี (LED; Light Emission Diode) เป็นแหล่งกำเนิดแสง ทดแทนการใช้แหล่งกำเนิดแสงที่ต้องใช้อุปกรณ์แยกแสง ส่งผลให้ตัวเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ที่พัฒนาขึ้นมีขนาดเล็กลง เคลื่อนย้ายได้สะดวก

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

ลดความคลาดเคลื่อนของอุปกรณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังการเคลื่อนย้ายเครื่องสเปกโตรโฟโตมิเตอร์ไปยังสถานที่ต่าง ๆ

ไม่ต้องมีส่วนอุปกรณ์แยกแสงที่ต้องเคลื่อนไหวขณะใช้งาน

อุปกรณ์มีราคาลดลง

ผู้สร้างผลงาน

อาจารย์จามิกร สุขอเนก และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu