พิธีลงนามสัญญาให้ใช้สิทธิในผลงาน
“หุ่นจำลองสำหรับฝึกเจาะเลือดและใส่สายสวน”
พิธีลงนามสัญญาให้ใช้สิทธิในผลงาน “หุ่นจำลองสำหรับฝึกเจาะเลือดและใส่สายสวน” ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย และ บริษัท เอส.ที.พี.เม็ดดิเทค จำกัด ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ ตึกสิริกิตติ์ ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
วันที่ 6 ธันวาคม 2566 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดีคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล คุณโกศล บุญคง รองผู้ว่าการด้านธุรกิจ การยางแห่งประเทศไทย และ คุณธนากร พูตระกูล กรรมการบริหาร บริษัท เอส.ที.พี.เม็ดดิเทค จำกัด ร่วมลงนามสัญญาให้ใช้สิทธิในผลงาน “หุ่นจำลองสำหรับฝึกเจาะเลือดและใส่สายสวน“ ระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ การยางแห่งประเทศไทย และ บริษัท เอส.ที.พี.เม็ดดิเทค จำกัด ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ ตึกสิริกิตติ์ ชั้น 5 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ทั้งนี้โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงที่มาและวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ พร้อมร่วมลงนามเป็นสักขีพยานในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว และยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุรศักดิ์ ลีลาอุดมลิปิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ บุญส่ง องค์พิพัฒนกุล รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี นายแพทย์ ณรงฤทธิ์ มัศยาอานนท์ รองคณบดีฝ่ายสนับสนุนโรงพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เฉลิมพงษ์ ฉัตรดอกไม้ไพร หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงวรินี เล็กประเสริฐ หัวหน้าภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมเป็นสักขีพยาน
โดยผลงานหุ่นจำลองสำหรับฝึกเจาะเลือดและใส่สายสวน เป็นผลงานที่เกิดจากการคิดขึ้นและพัฒนาโดย รองศาสตราจารย์ แพทย์หญิงปิยนุช พูตระกูล อาจารย์ประจำภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ร่วมกับ คุณราตรี สีสุข นักวิทยาศาสตร์ 5 รักษาการหัวหน้ากองวิจัยอุตสาหกรรมยาง ฝ่ายอุตสาหกรรมยาง และคณะ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ให้แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปได้ใช้สำหรับการฝึกซ้อมหัตถการให้มีความชำนาญก่อนลงมือปฏิบัติในผู้ ป่วยจริง ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนและลดอัตราการเสียชีวิต
ซึ่งการลงนามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิในครั้งนี้ ถือเป็นการต่อยอดทรัพย์สินทางปัญญาของมหาวิทยาลัยมหิดล สู่การนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และภาคธุรกิจเอกชนอย่างเป็นรูปธรรมในรูปแบบการอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือ Licensing พร้อมยกระดับนวัตกรรมของประเทศไทยมุ่งส่งออกสู่ตลาดต่างประเทศ