ลูกตาประดิษฐ์
รายละเอียดผลงาน
การเรียนการสอนแพทย์ประจำบ้าน ภาควิชาจักษุวิทยาเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนทางตาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ocular ultrasonography) เดิมสอนเฉพาะภาคทฤษฎีเท่านั้น ทำให้แพทย์ขาดการฝึกฝนทักษะในการทำหัตถการในผู้ป่วยจริง อาจทำให้เกิดการตรวจวินิจฉัยโรคที่ผิดพลาดได้ นอกจากนี้การตรวจวินิจฉัยเพื่อระบุตำแหน่งของก้อน (localization) หรือสิ่งแปลกปลอมที่มีภายในลูกตาจำเป็นต้องได้รับการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจึงจะสามารถระบุตำแหน่งของความผิดปกติหรือสิ่งแปลกปลอมที่มีภายในลูกตาได้อย่างแม่นยำ และไม่สับสน นักวิจัยจึงได้พัฒนาลูกตาเทียมหรือลูกตาจำลองสำหรับใช้ในการเรียนการสอนการตรวจวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนทางตาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ocular ultrasonography) และใช้ในการเรียนรู้การทำหัตถการ การตรวจสอบความผิดปกติของดวงตาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี
——-Transfer
——-Prototype
——-Experimental
——-Initial
จุดเด่นเทคโนโลยี
ผู้สร้างผลงาน
นพ.สุภเลิศ ประคุณหังสิต และคณะ
ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์