กรรมวิธีการสกัดสารกลุ่มแอนโธไซยานินจากน้อยหน่าเครือ

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

รายละเอียดผลงาน

น้อยหน่าเครือ (Kadsuda spp.) เป็นผลไม้ป่าใน Genus Schisandraceae มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยมีปริมาณโปรตีน และไขมันสูง มีแร่ธาตุอันได้แก่ แคลเซียม แมงกานีส แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส สังกะสี และเหล็กในปริมาณมาก และยังมีกรดแกลลิก (gallic acid) ซึ่งเป็นกรดฟีนอลิก (phenolic acid) และสารกลุ่มแอนโธไซยานิน (anthocyanin) เป็นจำนวนมาก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ในการต้านมะเร็งทางเดินอาหาร เต้านม ต่อมลูกหมาก ตับ ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก ปอด ฤทธิ์ต้านการอักเสบ การสกัดสารแอนโธไซยานินที่ใช้ในปัจจุบันมีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ต้องใช้ระยะเวลาในการสกัดนาน (ประมาณ 2 วัน) อีกทั้งยังต้องใช้สารละลายเมทานอลเพื่อระเหยสารเมทานอลออกให้หมด ทำให้มีความเสี่ยงในการได้รับพิษตกค้างจากสารละลายเมทานอลได้ นักวิจัยจึงได้พัฒนากรรมวิธีการสกัดสารกลุ่มแอนโธไซยานินจากน้อยหน่าเครือด้วยสถาวะและใช้ตัวทำละลายที่มีความปลอดภัย

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถสกัดสารกลุ่มสารแอนโธไซยานินได้ในปริมาณมาก และมีความคงตัวได้นานขึ้น

เป็นวิธีที่ง่ายไม่ยุ่งยาก

ใช้ตัวทำละลายที่มีความปลอดภัย

สามารถนำไปต่อยอดการสกัดสารกลุ่มแอนโธไซยานินในพืชชนิดอื่นได้

ผู้สร้างผลงาน

ผศ.ดร.อุทัยวรรณ สุทธิศันสนีย์ และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu