แบคทีเรียที่ได้รับการดัดแปลงทางพันธุวิศวกรรมให้สามารถผลิตได้ทั้งโปรตีนและอาร์เอ็นเอสายคู่

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

       การพัฒนาวิธีเพิ่มความต้านทาน (Immunostimulation) โรคไวรัสในกุ้ง โดยใช้อาร์เอ็นเอสายคู่ (double-stranded RNA, dsRNA) เพื่อระงับการแสดงออกของยีนที่จำเป็นของไวรัส ซึ่งช่วยลดการเพิ่มจำนวนของเชื้อไวรัสได้ โดยใช้การแทรกอาร์เอ็นเอ (RNA interference, RNAi) ที่มีอยู่แล้วในกุ้ง เพื่อลดอัตราการตายของกุ้ง แต่การผลิตอาร์เอ็นเอสายคู่มีต้นทุนในการผลิตที่สูง อีกทั้งการนำอาร์เอ็นเอสายคู่มาใช้ในการป้องกันโรคกุ้งในการเพาะเลี้ยงระดับฟาร์มจะต้องใช้อาร์เอ็นเอสายคู่ปริมาณมาก จึงมีการนำอนุภาคคล้ายไวรัส (Viral-like particles, VLPs) มาใช้เป็นระบบนำส่งสารชีวโนเลกุล (delivery system) โดยนำเชื้อเอสเซอริเชียร์ โคไล (Escherichia coil) ที่มีความทนทานต่อความเป็นกรด-เบสและอุณหภูมิ อีกทั้งยังสามารถดัดแปลงให้มีคุณสมบัติที่ต้องการได้ โดยใช้กรรมวิธีทางวิศวกรรมโปรตีนหรือวิธีทางเคมีได้แต่มีขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อน ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนากรรมวิธีที่ใช้ในการปรับปรุงสายพันธุ์ของแบคทีเรีย อี.โคไล เพื่อให้มีคุณสมบัติเฉพาะพิเศษที่สามารถจะผลิตได้ทั้งอนุภาคคล้ายไวรัสและอาร์เอนเอสายคู่ได้พร้อมกันภายในเซลล์เดียว ที่ซึ่งอาร์เอนเอสายคู่สามารถจะถูกบรรจุเข้าไปในอนุภาคคล้ายไวรัสในขณะที่อนุภาคคล้ายไวรัสในขณะที่อนุภาคคล้ายไวรัสถูกสังเคราะห์ได้

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถผลิตได้ทั้งอนุภาคคล้ายไวรัสและอาร์เอนเอสายคู่ได้พร้อมกันภายในเซลล์เดียว

ลดขั้นตอนของกระบวนการผลิตอาร์เอ็นเอสายคู่ที่ถูกบรรจุอยู่ในอนุภาคคล้ายไวรัสจากเดิมที่ต้องมีถึง 5 ขั้นตอนให้เหลือเพียงแค่ 2 ขั้นตอน

ผู้สร้างผลงาน

ผศ.ดร.อรชุมา อิฐสถิตไพศาล และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu