ยานพาหนะสำหรับการตรวจวินิจฉัยทางรังสี

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

     โรคหลอดเลือดสมองเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข เนื่องจากทำให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆ ของทุกประเทศทั่วโลก โดยภาวะโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเนื่องจากสังคมโลกกำลังเข้าสู่สังคมสูงอายุ หนึ่งในปัญหาสำคัญที่ทำให้การรักษาโรคหลอดเลือดสมองไม่สามารถทำได้ทันเวลาคือ การนำส่งผู้ป่วยไปยังแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาดำเนินการได้ไม่สะดวกและล่าช้า เนื่องจากโรงพยาบาลที่มีศักยภาพพร้อมและสามารถให้การรักษาได้มีจำนวนจำกัด และอาจอยู่ห่างไกลจากที่อยู่ของผู้ป่วย ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนายานพาหนะที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็นและเครื่องตรวจวินิจฉัยทางรังสีติดตั้งไว้ภายในยานพาหนะ เพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ไปหาผู้ป่วยและทำการตรวจวินิจฉัยได้ในขณะเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมายังโรงพยาบาล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการเข้าถึงการรักษาได้อย่างชัดเจน ทั้งยังช่วยลดอัตราความพิการและอัตราการเสียชีวิตได้

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

โครงสร้างของยานพาหนะถูกจัดให้ช่วยอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปยังเครื่องตรวจวินิจฉัยทางรังสี รวมถึงสะดวกต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์

สามารถปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยทางรังสีได้โดยที่ผู้ขับขี่และบุคลากรทางการแพทย์ไม่จำเป็นต้องออกนอกยานพาหนะในระหว่างการตรวจวินิจฉัย ซึ่งช่วยให้การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทำได้สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานมากยิ่งขึ้น

มีการพัฒนาชุดค้ำยันรถหรือเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยซึ่งจะช่วยให้มีความมั่นคงและไม่เกิดการสั่นสะเทือนในขณะที่ยานพาหนะเคลื่อนที่หรือในขณะที่มีการปรับระดับความสูงของรถหรือเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วย

มีการพัฒนาการจับยึดเครื่องตรวจวินิจฉัยทางรังสีให้สามารถยึดติดกับยานพาหนะได้แม้มีแรงเหวี่ยงหรือการสั่นสะเทือนเนื่องจากยานพาหนะเคลื่อนที่

ประกอบรวมด้วยระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยทำได้แม่นยำ และช่วยให้สามารถวางแผนการรักษาล่วงหน้าในขณะที่กำลังเคลื่อนย้ายผู้ป่วยได้

ผู้สร้างผลงาน

รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์
ผศ.ดร.พรชัย ชันยากร และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu