วัสดุดูดซับจากเส้นใยสับปะรดไมโคร

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

            วัสดุดูดซับจากเส้นใยสับปะรดไมโคร ใช้ใบสับปะรดมาเป็นวัสดุรองรับอีพีไอ เนื่องจากเป็นเส้นใยที่มีเซลลูโลสสูง มีขนาดพื้นที่ผิวมากกว่าเส้นใยปาล์มและเส้นใยฝ้าย จึงเกิดแรงดึงดูดกับพีอีไอได้ดี ทำให้สามารถตรึงพีอีไอได้มากกว่าเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ จึงสามารถนำไปใช้ในการกำจัดไอออนโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำเสียได้ มีอัตราการดูดซับที่สูง รวดเร็ว สามารถแยกออกได้ง่ายและสะดวก ทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการแยกแก๊สที่เป็นอันตรายได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอร์มัลดดีไฮด์ ออกจากอากาศได้ง่าย

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถกำจัดไอออนโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำเสียได้ มีอัตราการดูดซับที่สูง รวดเร็ว สามารถแยกออกได้ง่ายและสะดวก

สามาถนำไปใช้ในการแยกแก๊สที่เป็นอันตรายได้ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ฟอร์มัลดดีไฮด์  หรือก๊าซอื่นๆ ออกจากอากาศได้ง่าย

เส้นใยใบสับปะรดไมรโครเป็นเส้นใยที่มีเซลลูโลสสูง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3-4 ไมโครเมตร จึงมีขนาดพื้นที่ผิวมากกว่าเส้นใยปาล์มและเส้นใยฝ้าย พื้นผิวของเซลลูโลสเกิดแรงดึงดูดกับพีอีไอได้ดี จึงทำให้สามารถตรึงพีอีไอได้มากกว่าเส้นใยธรรมชาติอื่น ๆ

เส้นใยใบสับปะรดไมรโครมีความยาวมากกว่าเส้นใยเซลลูโลสทั่วไป จึงสามารถทำให้มีความฟูได้มาก สามารถทำให้มีรูปร่างต่างๆ ได้ง่าย เช่น แผ่น เป็นก้อนที่มีรูพรุนสูง

สามารถนำไปขยายกำลังผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้

ผู้สร้างผลงาน

รศ.ดร.ทวีชัย อมรศักดิ์ชัย และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu