ที-เซลล์ ดัดแปลงที่มีความสามารถในการหลั่งโมเลกุลแอนติบอดีสายสั้นที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจน CD133 บนเซลล์มะเร็ง และจำเพาะต่อแอนติเจน CD3E รีเซบเตอร์บนผิวที-เซลล์

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

     การรักษาโรคมะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด (cancer immunotherapy) โดยดัดแปลงที-เซลล์ให้มีความสามารถในการหลั่งโมเลกุลแอนติบอดีสายสั้นที่ ประกอบด้วยส่วนของแอนติบอดีสายเดี่ยว (single chain variable fragment; scFv) ที่ได้จาก โมโนโคนอลแอนติบอดีทั้ง 2 ฝั่ง (bispecific antibody) ทำให้โมเลกุลที่หลั่งออกมามีความสามารถในการจับกับแอนติเจนที่จำเพาะบนผิวเซลล์มะเร็ง และจับกับโปรตีนบนผิวที-เซลล์ไปพร้อมๆ กัน ทำให้ที-เซลล์เข้ามาใกล้กับเซลล์มะเร็ง และสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีการพัฒนาที-เซลล์ดัดแปลงที่มีความสามารถจำเพาะต่อแอนติเจน CD133 บนเซลล์มะเร็ง และทดสอบความสามารถกับมะเร็งทั้งมะเร็งเม็ดเลือดและมะเร็งชนิดก้อนมาก่อน ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาที-เซลล์ โดยการสร้างที-เซลล์ดัดแปลงที่มีความสามารถในการหลั่งโมเลกุลแอนติบอดีสายสั้นที่มีความจำเพาะทั้ง 2 ฝั่ง ต่อทั้งแอนติเจน CD133 บนเซลล์มะเร็ง และจำเพาะต่อแอนติเจน CD3ε รีเซบเตอร์บนผิวที-เซลล์ (CD133-targeting bispecific T cell engager; anti-CD133xOKT3) สำหรับการบำบัดมะเร็งทุกชนิด

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาโรคมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

สามารถลดการสูญเสียชีวิตหรือช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย

ผู้สร้างผลงาน

นางสาวฐานิช แสงสุวรรณนุกุล และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu