ที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมรุ่นที่ 4
(แอนติเจน CD133) สำหรับการบำบัดมะเร็ง

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

     การพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการพัฒนาที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสม (Chimeric Antigen Receptor; CAR) เป็นการรักษาแนวใหม่ เรียกว่า เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด (Cellular immunotherapy) ซึ่งผลิตจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แยกมาจากเลือดของผู้ป่วยและนำมาดัดแปลงด้วยวิธีทางอณูชีววิทยา (Molecular biology) ให้สามารถจดจำเซลล์มะเร็งได้อย่างจำเพาะมีความสามารถในการกำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น และใส่กลับไปในร่างกายของผู้ป่วยเพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็ง เป็นวิธีการรักษาที่มีความปลอดภัยสูง เพราะเป็นการรักษาด้วยการใช้เซลล์ของผู้ป่วยเอง โดยผู้ประดิษฐ์ได้พัฒนาที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมรุ่นที่ 4 (4th generation of CAR-T-cells; CAR4 T cells) ที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจน CD133 สำหรับการบำบัดมะเร็งให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยเสริมการทำงานของที-เซลล์ในการกำจัดเซลล์มะเร็งชนิดก้อนได้

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถทำให้ที-เซลล์มีความจำเพาะต่อมะเร็งที่มีลักษณะเป็นก้อนได้

แก้ปัญหาระบบหลบหลีกภูมิคุ้มกันของเซลล์มะเร็ง

สามารถลดการสูญเสียชีวิตหรือช่วยให้ผู้ป่วยมีชีวิตยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผู้สร้างผลงาน

นางสาวฐานิช แสงสุวรรณนุกุล และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu