ที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนแบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนอินทรีกริน อัลฟ่า-วีเบต้า-หก

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

     การใช้ภูมิคุ้มกันบำบัด (immunotherapy) ในการรักษาโรคมะเร็ง โดยการทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยสามารถทำลายเซลล์มะเร็งได้โดยอาศัยการทำงานของที-เซลล์ จึงมีการพัฒนาที-เซลล์เพื่อรักษาโรคมะเร็ง โดยการดัดแปลงที-เซลล์ ด้วยเทคนิคทางพันธุวิศวกรรมให้มีการแสดงออกของตัวรับแอนติเจนลูกผสม (Chimeric antigen receptor; CAR) ผู้ประดิษฐ์ได้พัฒนาตัวรับแอนติเจนลูกผสมซึ่งจำเพาะต่อโปรตีนอินทีกริน อัลฟ่า-วี เบต้า-หก (Chimeric antigen receptor  targeting integrin αvβ6; αvβ6-CAR) และใช้กลไกของเลนติไวรัส (lentivirus) ที่ตัดต่อชุดยีน αvβ6-CAR เข้ากับโครโมโซมของที-เซลล์ เพื่อให้ตัวรับแอนติเจนลูกผสมที่จำเพาะต่อโปรตีนอินทิกริน อัลฟ่า-วี เบต้า-หก มีการแสดงออกอย่างถาวร (Stable expression) บนผิวของที-เซลล์  (αvβ6-CAR T cells) โดยมุ่งเป้าในการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดี

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถทำให้ที-เซลล์จับจำเพาะกับโปรตีนอินทีกริน อัลฟ่า-วี เบต้า-หก  โดยไม่ผ่าน major histocompatibility complex (MHC) ซึ่งช่วยทำให้ที-เซลล์สามารถทำงานได้ในสภาวะที่เซลล์มะเร็งลดการแสดงออกของโมเลกุลดังกล่าวเพื่อหลบหลีกการทำงานของที-เซลล์ ได้

สามารถกระตุ้นให้เกิดการทำงานของที-เซลล์ในการกำจัดเซลล์มะเร็งได้

ผู้สร้างผลงาน

นางสาวณัฐพร พันธผล และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu