ตัวรับแอนติเจนลูกผสมของที-เซลล์ที่จับจำเพาะกับแอนติเจนชนิด CD19 ที-เซลล์ดัดแปลงที่มีการแสดงออกของตัวรับแอนติเจนลูกผสมของที-เซลล์ที่จับจำเพาะกับแอนติเจนชนิด CD19
รายละเอียดผลงาน
โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว (Leukemia) และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง (Lymphoma) ชนิดบี-เซลล์ เป็นโรคมะเร็งในกลุ่มโรคมะเร็งของระบบเลือด (Hematologic Malignancies) มีสาเหตุเกิดจากความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดบี-เซลล์ในในไขกระดูก หรือต่อมน้ำเหลือง ปัจจุบันมีการพัฒนาวิธีการรักษาโรคมะเร็งด้วยเซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัด (Cellular Immunotherapy) โดยการใช้เซลล์ที-ลิมโฟไซต์ที่มีตัวรับแอนติเจนลูกผสม หรือ Chimeric antigen receptor (CAR) T cells ซึ่งองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับรองตัวรับแอนติเจนลูกผสมที่จำเพาะต่อโปรตีน CD19 (CD19-CAR T cells) รุ่นที่ 2 เพื่อใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดบี-เซลล์ และโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองของบี-เซลล์ชนิดที่เกิดซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานแล้ว ซึ่งตัวรับแอนติเจนลูกผสมดังกล่าวพัฒนามาจากโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ผลิตขึ้นในหนู (murine) อาจทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ด้วยการสร้างแอนติบอดีที่ยับยั้งส่วนโปรตีนแปลกปลอมที่เป็นของหนู (human anti-mouse antibody; HAMA) ซึ่งมีผลต่อต้านการทำงานและการอยู่รอดของที-เซลล์ที่มีตัวรับแอนติเจนลูกผสมชนิดนี้ ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาตัวรับแอนติเจนลูกผสมที่มีแอนติบอดีสายเดี่ยวมาจากมนุษย์ เพื่อนำมาพัฒนาต่อเป็น ที-เซลล์ดัดแปลงที่มีตัวรับแอนติเจนลูกผสมที่มีส่วนของแอนติบอดีสายเดี่ยวเป็นของมนุษย์ที่มีความจำเพาะกับ CD19 ซึ่งจะช่วยลดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกายและการต่อต้านการรักษา ส่งผลให้สามารถนำไปใช้ในการบำบัดโรคมะเร็งชนิดบี-เซลล์ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี
——-Transfer
——-Prototype
——-Experimental
——-Initial
จุดเด่นเทคโนโลยี
ผู้สร้างผลงาน
นางสาวยุภานันท์ วุฒิอิ่น และคณะ
ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์