‘Mahidol Incubation’ บ่มเพาะนวัตกร สู่การเป็น Startup ตัวจริง

'Mahidol Incubation'  บ่มเพาะนวัตกร สู่การเป็น Startup ตัวจริง
บทสัมภาษณ์พิเศษ จากทีมที่ผ่านการคัดเลือก ได้รับทุนสนับสนุนการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ 
ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

‘Mahidol Incubation Program’ โครงการบ่มเพาะนักนวัตกร ผู้มีไอเดียสร้างสรรค์ ให้สามารถผลักดันเทคโนโลยี นวัตกรรม ออกสู่ตลาดและถูกนำไปใช้ได้จริงในสังคม วันนี้ทีม iNT ได้มีโอกาสพูดคุยกับ Startup ที่ผ่านการคัดเลือกได้รับทุนสนับสนุนการสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ภายใต้โครงการ Mahidol Incubation Program 2021 ทั้ง 5 ทีม เกี่ยวกับแนวคิด ไอเดีย จุดเริ่มต้นที่ทำให้หันมาสนใจในการทำธุรกิจ Startup รวมถึงความท้าทายที่พวกเขาต้องพบเจอในระหว่างทาง โดยแต่ละทีมได้ให้สัมภาษณ์ว่า

เหตุผลสำคัญที่ทำให้เราหันมาให้ความสนใจ เข้าสู่วงการ Startup ก็เพราะเรารู้ว่าในยุคปัจจุบัน ด้วยความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของตัวเราเองเพียงอย่างเดียว อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้เราสามารถพัฒนาเทคโนโลยีหรือแก้ไขปัญหาที่เราเจอได้อย่างเต็มที่ 100% เราจึงต้องมองหาความเชี่ยวชาญด้านอื่น ๆ มาเติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป เพื่อปรับปรุง พัฒนาเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้ตอบโจทย์ความต้องการของสังคม รวมถึงคณะและมหาวิทยาลัยเอง ก็ต้องมีการปรับตัว มีเป้าหมายในการผลักดันความเชี่ยวชาญ ผลงานที่เรามีออกสู่สังคม เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน การทำ Startup จึงเป็นคำตอบที่จะทำให้เราสามารถ Spin off  ขับเคลื่อนเทคโนโลยีออกไปสู่สังคมได้อย่างรวดเร็วมากกว่าที่จะมุ่งเน้นการทำตามพันธกิจหลักเพียงอย่างเดียว

Team HeaRTHS

ทีม HeaRTHS โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

Team MU Robotics

มันเริ่มมาจากการที่เรารู้จักความต้องการของตัวเองก่อน ความอยากที่จะมีธุรกิจที่เป็นของตัวเอง ประกอบกับเทรนด์ของการทำ Startup ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในวงการธุรกิจ และสมาชิกในทีมที่มาร่วมกันจุดประกายความคิดและเชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีของเราสามารถไปต่อได้ เลยลองชวนกันมาลุยทำ Startup โดยที่เรามองว่า Deep Tech Startup เป็นเทคโนโลยีที่สามารถส่งเสริมไปได้อีกไกลและมีประโยชน์ต่อสังคมในปัจจุบัน เทคโนโลยีของเราสามารถที่จะปรับเปลี่ยน พัฒนาไปตามความต้องการของสังคมได้ในอนาคต

Startup ของเราเกิดจากความเชื่อมั่น มั่นใจว่าเทคโนโลยีของเรามีจุดเด่นและข้อดีมากมายที่สามารถจะถูกผลักดันออกสู่ตลาด มีผู้ใช้งานจริง และสามารถเติบโตไปได้ รวมถึง passion ของทีมที่พร้อมจะแข่งขัน และท้าทายโอกาสใหม่ ๆ อยู่เสมอ และจุดที่เรารู้สึกว่ามันท้าทายสำหรับเรามากที่สุด ก็คือการที่เราต้องออกไปสำรวจความต้องการของผู้ใช้งาน สำรวจว่ามีคนอยากจะใช้เทคโนโลยีของเรามากน้อยแค่ไหน การเรียนรู้ Business Model การวางแผนธุรกิจ การออกไปสำรวจตลาด เป็นสิ่งใหม่ที่เราได้เรียนรู้จากการเข้าร่วมในโครงการนี้เป็นอย่างมาก ให้ได้มองเห็นภาพในมุมที่กว้างขึ้น

ทีม HeaRTHS โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

Team TEAnity

ทีม HeaRTHS โครงการ Mahidol Incubation Program 2021

Team CaCao Tech

เราเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่รู้จักเทคโนโลยีอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยากและท้าทายในการทำ Startup คือการบริหารจัดการทีม การแบ่งเวลาและหน้าที่ความรับผิดชอบภายในทีม รวมถึง Skills ด้าน Marketing ที่ไม่ใช่ความถนัดของเรา ทุกคนต้องมาเรียนรู้ในเรื่องนี้กันอย่างมาก และด้วยโครงการนี้มีเมนเทอร์ที่คอยสนับสนุน ให้คำแนะนำ มีความเชี่ยวชาญด้านการทำ Business มันทำให้เราสามารถก้าวผ่านปัญหาในจุดนั้นมาได้ในระดับนึงเลย

เราได้เรียนรู้อะไรมากมายจากโครงการนี้ เจ้าหน้าที่และเมนเทอร์ในโครงการทุกคนคอยดูแล ช่วยเหลือเราเป็นอย่างดี จากที่เราคิดว่า Startup เป็นสิ่งที่อยู่ไกลตัวเรามาก เรามีแค่ไอเดียอย่างเดียว จะมีโอกาสเป็นไปได้หรือเปล่า แต่โครงการนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ ได้ศึกษาในหลายด้าน จากที่เรามีแค่ไอเดียที่จับต้องไม่ได้ ตอนนี้เรามีต้นแบบ Prototype นวัตกรรมของเรา และมองเห็นความเป็นไปได้ในการผลักดันเทคโนโลยีของเราให้ดียิ่งขึ้นไป

Team OhWOW !

จากแนวคิดไอเดียสู่การลงมือทำจริง ได้บ่มเพาะความรู้ ประสบการณ์ และเรียนรู้สิ่งที่ Startup ต้องเผชิญ เรียกได้ว่า ‘Mahidol Incubation’ เป็นสนามแห่งการเรียนรู้ที่พร้อมจะให้โอกาสกับทุกคนที่มีแนวคิด ไอเดียสร้างสรรค์ พร้อมที่จะสนับสนุน บ่มเพาะนักนวัตกร สู่การเป็น Startup ตัวจริง ให้สามารถผลักดันนวัตกรรมใหม่ออกสู่สังคม ส่งเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนต่อไป