อุปกรณ์ดักจับไขมัน

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

            ในการบำบัดน้ำเสียจะต้องทำการบำบัดเบื้องต้น โดยการแยกน้ำมันและไขมันออกมาก่อน หรืออาจต้องหาวิธีการอื่นหรือมีอุปกรณ์ช่วยเสริมให้มีการย่อยสลายที่รวดเร็วขึ้น ปัจจุบันในตลาดจึงมีถังดักไขมันหรือบ่อดักไขมันหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่ใช้หลักการน้ำมันมีมวลน้อยกว่าน้ำในการคัดแยก ไขมันจึงลอยอยู่เหนือผิวน้ำ และต้องอาศัยการตักไขมันออกเพื่อนำไปกำจัด และหากไม่ตักออกจะเกิดการสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งกลิ่นเหม็นจากน้ำมันละไขมันที่ถูกย่อยสลาย

            ดังนั้น ผู้ประดิษฐ์จีงได้คิดค้นอุปกรณ์ดักจับไขมัน มีลักษณะออกแบบเป็นกล่องสามเหลี่ยมที่มีความเอียงและมีส่วนประกอบต่างๆ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการจัดการของเสียประเภทน้ำมัน และไขมันที่ปะปนกับน้ำทิ้ง โดยสามารถรวบรวมน้ำมันและไขมัน และให้มีความเข้มข้นมากกว่าการตักที่อาจมีน้ำปะปนมากกว่า ช่วยลดเวลาในการดักไขมัน ลดการสัมผัสกับน้ำมันและไขมัน และรักษาประสิทธิภาพในการดักน้ำมันและไขมันให้คงที่ ขยะน้ำมันและไขมันไม่สะสมจนเกิดการอุดตัน

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

สามารถรวบรวมน้ำมันและไขมัน และให้มีความเข้มข้นมากกว่าการตักที่อาจมีน้ำปะปนมากกว่า

ช่วยลดเวลาในการดักไขมัน

ไขมัน ลดการสัมผัสกับน้ำมันและไขมัน

รักษาประสิทธิภาพในการดักน้ำมันและไขมันให้คงที่

ขยะน้ำมันและไขมันไม่สะสมจนเกิดการอุดตัน

ผู้สร้างผลงาน

นางสาวนิตยา เนียมพางค์

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu