ชุดตรวจวัดระดับคอร์ติซอลในร่างกาย

รายละเอียดผลงาน

การตรวจวัดระดับคอร์ดิซอลในร่างกายทางห้องปฏิบัติการในปัจจุบันนิยมให้หลักการอิเล็กทรอเคมิลูมิเนสเซ็น อิมมูโนแอสเซย์ (Electrochemiluminescence Immunoassay, ECLIA) ซึ่งจำเป็นต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่มีราคาแพง รวมไปถึงบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการตรวจวัด นักวิจัยจึงคิดค้นชุดตรวจวัดระดับคอร์ติซอลในร่างกาย โดยใช้กระดาษรองซึ่งมีต้นทุนที่ต่ำกว่าและใช้หมึกไขผึ้งในการกั้นขอบเขตพื้นที่สำหรับตรวจวัด ทำให้สามารถกำหนดลักษณะหรือพื้นที่ตรวจวัดเองได้ การออกแบบให้มีขนาดพื้นที่ตรวจวัดที่เล็ก ทำให้สามารถลดปริมาณตัวอย่างในการทดสอบได้ ทั้งนี้ยังคงอาศัยหลักการเดิมคือหลักการอิมมูแอสเซย์แบบแข่งขันและใช้อนุภาคทองขนาดนาโนเมตร (Gold-nanoparticles, AuNPs) เป็นตัวตรวจวัดสัญญาณสีที่เกิดขึ้น ซึ่งสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ได้ง่ายต่อการใช้งาน สะดวก และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการตรวจวัดระดับคอร์ติซอลในร่างกายได้

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

ออกแบบและใช้อุปกรณ์ที่สามารถปรับ/ยืดหยุ่นไปตามลักษณะลำคอของผู้ป่วย

มีหลายขนาดเพื่อใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีขนาดลำคอต่างกันไป

ผู้สร้างผลงาน

พญ.พรรณอร เฉลิมชัยดำริ และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu