กระบวนการนำกลับฟอสฟอรัสจากน้ำเสีย มาใช้ประโยชน์ในรูปของปุ๋ยสตรูไวท์ (Struvite)

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

     ระบบถังปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดสำหรับก่อผลึกสตรูไวท์จากของเหลวชีวมวลที่ผ่านการย่อยสลายแบบแอนแอโรบิค เป็นกระบวนการนำกลับฟอสฟอรัสจากน้ำเสียจากอุตสาหกรรมผลิตมันสำปะหลังมาใช้ประโยชน์ในรูปของสตรูไวท์ (Struvite) ซึ่งเป็นปุ๋ยละลายช้า (Slow release fertilizer) ด้วยกระบวนการที่ลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียที่มีสารอาหารพืช ได้แก่ ฟอสฟอรัส (P) และ ไนโตรเจน (N) ก่อนปล่อยเป็นน้ำทิ้งลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นกระบวนการนำกลับฟอสฟอรัสที่แตกต่างจากกระบวนการอื่นๆ โดยทั่วไป สามารถลดต้นทุนสารเคมี และนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์ได้

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

เป็นกระบวนการที่ลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม

สามารถลดต้นทุนสารเคมี และนำของเสียจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ประโยชน์

ผู้สร้างผลงาน

นายเกรียงศักดิ์ ริ้วกลาง และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu