หุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุ

การรักษามะเร็งด้วยวิธี
เซลล์ภูมิคุ้มกันบำบัดที-เซลล์ แบบลูกผสมที่มีความจำเพาะต่อโปรตีนของเซลล์มะเร็งเต้านม

รายละเอียดผลงาน

            ประเทศไทยได้เข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุ ทำให้สัดส่วนของผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้น แต่ยังขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุ เนื่องจากการผลิตบุคลากรที่มีศักยภาพและมีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านจะต้องใช้ระยะเวลานาน  และใช้ทรัพยากรมาก ทั้งยังต้องมีความรู้ความเข้าใจสภาวะอารมณ์ สามารถประเมินแนวโน้มปัญหาพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นของผู้สูงอายุได้ สามารถให้คำปรึกษา และการช่วยเหลือที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที ปัญหาที่สำคัญและพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ คือ ภาวะวิตกกังวล ภาวะเครียด ภาวะซึมเศร้า หากไม่ได้รับการดูแล อาจพัฒนาไปเป็นปัญหาสุขภาพจิตได้ ปัจจุบันมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ทางการแพทย์ มาช่วยในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ โดยจะเน้นไปที่การดูแล เฝ้าระวังปัญหาสุขภาพทางกายเป็นหลัก แต่ยังขาดการระวังปัญหาด้านจิตใจ

            ผู้ประดิษฐ์จึงได้พัฒนาหุ่นยนต์ดูแลสุขภาพใจผู้สูงอายุตามการประดิษฐ์นี้ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวังภาวะอารมณ์และสภาพจิตใจที่ไม่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ ประเมินแนวโน้มปัญหาพฤติกรรม ตลอด 24 ชม. ป้องกันและช่วยเหลือผู้สูงอายุจากภาวะอารมณ์เศร้า เครียด กังวล และปัญหาด้านความจำ

ระดับความพร้อมของเทคโนโลยี

——-Transfer

——-Prototype

——-Experimental

——-Initial

จุดเด่นเทคโนโลยี

หุ่นยนต์สามารถโต้ตอบอัตโนมัติกับผู้สูงอายุได้ โดยสามารถวิเคราะห์อารมณ์ แนวโน้มปัญหาพฤติกรรมของผู้สูงอายุ จากประโยคที่พูดกับหุ่นยนต์ ด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) และระบบการจัดการสนทนา (dialog management) ติดตามพฤติกรรมได้ตลอด 24 ชม.

ป้องกันและช่วยเหลือผู้สูงอายุจากภาวะอารมณ์เศร้า เครียด กังวล และปัญหาด้านความจำได้

สามารถประเมินสภาวะอารมณ์ที่ไม่พึงประสงค์ในผู้สูงอายุ (Mental problem recognition) ได้แก่ ภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวลและภาวะเครียด

เป็นช่องทางปรึกษาด้านสุขภาพจิตทางไกลแบบส่วนตัวระหว่างผู้ใช้และจิตแพทย์

ผู้สร้างผลงาน

อ.กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี และคณะ

ผู้ประสานงาน : งานถ่ายทอดเทคโนโลยีเชิงพาณิชย์

02-849-6056-7

athicha.soi@mahidol.edu