“รักษาสิทธิ์ที่พึงมี จดสิทธิบัตร คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา”
เพราะผลงานทางความคิดที่ถูกสร้างสรรค์และพัฒนาขึ้นมา ถือเป็น ‘สิ่งประดิษฐ์’ ที่สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม เป็นสิ่งที่มีคุณค่า คู่ควรแก่การได้รับการคุ้มครองที่ถูกต้องตามกฎหมาย
3 เหตุผลสำคัญ ทำไมเราจึงต้องจดสิทธิบัตร !!
สำหรับในปี 2562 ที่ผ่านมา ผลงานทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา (Granted) โดยการบริการจากสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) ที่เป็นตัวแทนด้านบริหารจัดการและจดทะเบียนขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาแก่คณาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนสิทธิบัตร กรมทรัพย์สินทางปัญญา จำนวนทั้งสิ้น 3 เรื่อง ได้แก่
โดย ศาสตราจารย์นายแพทย์จุมพล วิลาศรัศมี (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี) และรองศาสตราจารย์ ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์ (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์สมศักดิ์ ไหลเวชพิทยา , แพทย์หญิงสุจีรา ไหลเวชพิทยา และ นายธงชัย ไหลเวชพิทยา (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ตุลยพฤกษ์ ถาวรสวัสดิ์รักษ์ และ นางวารุณี ศิระพัฒนานนท์ (คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี)
สำหรับอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่ต้องการสอบถามข้อมูลหรือมีความประสงค์ที่จะนำผลงานของท่านไปจดสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (iNT) โทร 02-849-6056