เกลียดงานนี้ซะมัด เบื่อเรียนซะมัด …หากรู้สึกอะไรแนวนี้ หรือมีเพื่อน พ่อ แม่ พี่ น้อง ฯลฯ อยู่ในภาวะนี้ วันนี้พี่อิ๊นท์จะมาแชร์ว่า ทำไมถึงเป็นอย่างนี้นะ? มันมีทางออกหรือเปล่า?
คนที่เกิดช่วงปี 2523 เป็นต้นมาโดยประมาณ ชาว Gen Y หรือ ชาว Millennials , Gen Z , Gen C ที่ดำเนินชีวิตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง และค่านิยมที่แตกต่างระหว่างรุ่นปู่ย่าตายายและพ่อแม่ รับเอาความเจริญรุดหน้าของเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องในใช้ชีวิตประจำวัน
ผลสำรวจโดย GALLUP ในปี 2016 พบว่ากลุ่มคนที่เป็นแรงงานกำลังหลักของประเทศกว่า 71% รู้สึกว่าตนเองไม่ ‘Engage’ กับงานหรือสิ่งที่ทำอยู่และยิ่งกว่านั้นกว่า 60% พร้อมจะย้ายงานหากมีโอกาสงานใหม่ๆ ที่ดีกว่า ซึ่งเหตุของความรู้สึกเกลียดงาน ก็คือ
1. ความคาดหวังที่สูง
คือคนกลุ่มนี้อยู่ในยุคที่ rewards ได้มาง่ายและรวดเร็ว ประมาณเหมือนตอนที่ทำการเลื่อน News Feed ที่ทำให้เราเหมือนว่าได้รับ rewards ง่ายและเร็ว หลายคนจึงรู้สึกว่าการทำงานของเรามันควรจะก้าวหน้าได้ไวเหมือนกับ social media คนกลุ่มนี้จึงมีความคาดหวังต่องานหรือสิ่งที่ทำสูง ว่าจะต้องมีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
2. โซเชียลมีเดีย
หลายคนเข้าโซเชียลมีเดียรู้สึกว่าตนเองเศร้า อิจฉา โกรธมากขึ้น รู้สึกว่าทำไมชีวิตขงเพื่อนหรือคนอื่นๆ ในโซเชียลมีเดียมันดีจัง แต่ตัวเราเอง…เฮ้อ!
3. หัวหน้าไม่ค่อยมอบโอกาสใหม่ๆ ในที่ทำงานให้ หรือมากกว่านั้น คือ หัวหน้าไม่ได้บอกเหตุผลในการทำงาน เนื่องจากคนกลุ่มนี้ค่อนข้างคิดเยอะ เพราะฉะนั้นถ้าหัวหน้าไม่ได้ทำให้เขาเห็นภาพใหญ่ของการทำงานได้ว่าสิ่งที่เขาทำมันจะนำไปสู่เป้าหมายหรืออะไรที่ยิ่งใหญ่ เขาอาจมีความรู้สึกเกลียดงานหรือสิ่งที่ได้รับมอบหมายให้ทำได้
มีมั้ย…ทางออก?
จากบทความ A ‘millennial therapist’ explans why young people hate their jobs-and what to do about it ใน CNBC Make it แนะนำทางออกดังนี้
1. เลิกบ่น เกลียด เกลียด เกลียด
เพราะอะไร? เพราะจากประสบการณ์เขาพบว่าไม่ว่า Gen ไหนก็มีคนไม่พึงพอใจหรือเกลียดงานที่ตัวเองทำทั้งนั้น แต่ิ่งที่สำคัญก็คือ การที่เราจะเป็นมืออาชีพได้ ก็คือ การทำสิ่งที่เราทั้งชอบและไม่ชอบหรือสิ่งที่เราเกลียดให้ออกมาดีที่สุด แทนที่จะเอาแต่บ่นว่าเกลีดงาน ให้เอาพลังนั้นไปค้นหาดีกว่าว่าเหตุจริงๆ นั้นมันเป็นเเพราะอะไร เราอาจจะแค่ไม่พอใจหรือเปล่าที่ทำดีขนาดนี้แต่เจ้านายไม่เห็นค่า? ลองกลับมาถามตนเองซิว่า “อะไรบ้างที่เราควงคุมจัดการได้?” ถ้าการเลื่อนขั้น เลื่อนตำแหน่งเป็นหน้าที่หรืออำนาจของเจ้านาย สิ่งที่เราทำได้ก็คือ เดินไปหาเจ้านายแล้วบอกเขาว่าฉันทำขนาดนี้ เหตุใดฉันถึงไม่ได้รับในสิ่งที่ฉันควรรับ หรือ ฉันอยากได้ความท้าทายในหน้าที่การงานมากกว่านี้ เจ้านายให้ได้ไหม? ถ้าคุณให้ ฉันทำได้ ฉันก็สมควรที่จะได้เลื่อนขั้น
2. ลดความคาดหวัง
ความคาดหวังคือความเชื่อไม่ใช่ความจริง เช่น เราคาดหวังให้ประเทศดีขึ้น สิ่งนี้คือความเชื่อแต่ในความจริงประเทศจะดีหรือไม่ดีอีกเรื่องหนึ่ง มาตรฐานของเรา เราต้องทำให้มันดีขึ้น ถ้าเจ้านายสั่งงานมา เราทำ 100% ส่งเจ้านายก็ได้ แต่เราสามารถสร้างมาตรฐานของตนเองให้ไปที่ 150% ก็ได้ มาตรฐานมันอยู่กับเรา ฉะนั้นถ้าเจ้านายที่นี่ไม่เห็นค่า เราก็เดินออกมาแล้วไปหาที่ใหม่พร้อมกับมาตรฐานที่มันอยู่กับตัวเรา ไม่ใช่ความคาดหวังที่เป็นเพียงความเชื่อ
3. ลดการเล่นโซเชียลมีเดียลงบ้าง
หลายคนพอรู้สึกเกลียดงานมากๆ ก็ไปรพ่นลงในโซเชียลมีเดีย ซึ่งมันไม่อาจช่วยอะไรได้มาก ลองเดินไปหาคนรอบข้าง เพื่อน ครอบครัว คนรอบตัว นักจิตบำบัด แล้วปรึกษากับเขา
เราอาจจะเกลียดงาน เราอาจจะเกลียดคน ลองแยกแยะดูด้วย สิ่งสำคัญคือ คุณมีสิทธิ์เกลียด มีสิทธิ์ในอารมณ์พื้นฐานของมนุษย์ แต่คุณอาจจะทบทวนตัวเองดูก่อนที่นำไปสู่การลาออกจากงานหรือการเรียน เตรียมแผนให้ตัวเอง อย่าโกรธเกลียดแล้วลาออกไปแต่ก็ไม่รู้ว่าออกไปนั้นจะเอาอะไรกิน
ขอบคุณข้อมูลจาก Brand Inside