น้ำเสียงในภาษาเขียนก็มีนะจ๊ะ เคยสังเกตกันหรือเปล่าว่าคุณหรือคนรอบข้างคุณใช้คำทุกวันนี้อย่างไร แล้วคุณรู้สึกอย่างไรที่ได้อ่านหรือได้ยินคำเหล่านั้น เคยมีประสบการณ์ “เขียนเหมือนสั่ง” หรือไม่ ว่าเป็นอย่างไร ผู้เขียนได้ไปอ่านพบคำถามของดร.ชนกพร พัวพัฒนกุล อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่น่าสนใจมาจึงอยากมาแชร์ให้ชาวอิ๊นท์ได้ทราบกัน
คำถามคือ
ย่อหน้าสรุปที่เหมาะจะใช้ใน “จดหมายเชิญคณบดี/หัวหน้ามาเป็นประธานในพิธีปิดการอบรม” ควรจะเป็นข้อไหน ใครตอบได้บ้างคะ
อ่านแต่ละตัวเลือกแล้ว รู้สึกอย่างไรกันบ้างคะ แล้วตอบอะไรกันบ้างคะ
จะเห็นได้ว่าเขียนต่างกัน ก็ได้อรรถรส หรือง่ายๆ คืออารมณ์ ต่างกัน
ไหนๆ ก็ได้แตะเรื่องการเขียน “จุดประสงค์ของเรื่อง” ซึ่งหลายๆ ท่านอาจคุ้นเคยหากเคยเขียนหนังสือติดต่อราชการมาแล้ว จึงรวบรวมข้อความที่ท่านอาจนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำแจ้ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับหนังสือทราบ อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำอธิบายหรือคำชี้แจง ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับหนังสือเข้าใจโดยถูกต้อง หรือเข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำยืนยัน ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับหนังสือแน่ใจ อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำขอ ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับหนังสือพิจารณา หรือดำเนินการ หรือให้ความร่วมมือ หรือให้ความช่วยเหลือ อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำถามหรือคำหารือ ซึ่งมีความหมายเพื่อขอทราบเรื่อง หรือความประสงค์หรือความเห็นจากผู้รับหนังสือ อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำสั่งหรือคำกำชับ ซึ่งมีความมุ่งหมายให้ผู้รับหนังสือปฏิบัติตาม อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่เป็นลักษณะ คำเตือน ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้รับหนังสือปฏิบัติในเรื่องที่จะต้องดำเนินการ อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
จุดประสงค์ของเรื่องที่มีหลายลักษณะรวมกัน วึ่งมีความมุ่งหมายหลายประการรวมกัน จะต้องแจ้งจุดประสงค์ให้ครบถ้วนทุกประการตามที่ต้องการ อาจใช้ข้อความในทำนองดังต่อไปนี้
การใช้คำในเขียนหนังสือราชการนั้นยังมีรายละเอียดอื่นๆ เช่น การใช้คำหน้าคำนาม หลักการเขียน
การใช้คำนำหน้านามในหนังสือ
ประเภทคำนำหน้า
1. นำด้วยคำว่า ตัวอย่าง นาย นาง นางสาว
2. นำด้วยฐานันดรศักดิ์ ตัวอย่าง ม.ร.ว.แสงสูรย์ ลดาวัลย์
3. นำด้วยบรรดาศักดิ์ ตัวอย่าง ท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ
4. นำด้วยยศทหาร หรือ ตำรวจ ตัวอย่าง พลเอก สุรยุทธ์ จุลนานนท์
5. นำด้วยตำแหน่งทางวิชาการ ตัวอย่าง ศาสตราจารย์สุรพล นิติไกรพจน์
หมายเหตุ
1. ดร.ไม่ใช่คำนำหน้านาม แต่เป็นการแสดงคุณวุฒิการศึกษา จึงอนุโลมให้ใช้คำขึ้นต้นเป็น ดร. ในวงการศึกษาทั้งหมด แต่ถ้าเป็นบริษัทไม่ต้องใส่
2. นายแพทย์ แพทย์หญิง คืออาชีพ จะไม่ให้กับคำนำหน้านาม
โดยให้เรียงลำดับก่อน-หลัง ดังนี้
1. ตำแหน่งทางวิชาการ
2. ยศ
3. บรรดาศักดิ์
4. ฐานันดรศักดิ์
5. ชื่อ
ตัวอย่างเช่น
ศาสตราจารย์ พลเอก หม่อมราชวงศ์…………
รองศาสตราจารย์ ท่านผู้หญิง หม่อมเจ้า…………
หลักการเขียน
ใคร ทำอะไร เมื่อใด ที่ไหน อย่างไร เท่าใด เพราะอะไร
ตัวอย่างเช่น
ด้วยสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีละนวัตกรรม มหิดลกำหนดจัดฝึกอบรมเรื่อง Content Strategy ในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ห้องประชุม OSM 1 ให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีละนวัตกรรม จำนวน 20 คน เพื่อส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อการนำไปใช้ได้อย่างถูกต้องและเป็นประโยชน์
ทิ้งท้ายก่อนจบการแชร์นี้คือ เวลาเราอ่านหรือฟังคำจากผู้อื่นเราก็อยากได้ฟังดีๆ ลองเลือกใช้คำดีๆ และที่สำคัญคือเหมาะสมกับกาลเทศะ เวลาเขียน พูดหรือสื่อสารกับบุคคลอื่นดูนะคะ
ภาพจาก https://www.facebook.com/MayChanokporn/photos/a.180885852280257/840226059679563/?type=3&theater
ข้อมูลอ้างอิง การเขียนหนังสือราชการ : ความรู้พื้นฐานในการเขียนหนังสือติดต่อราชการ สำนักงาน ก.พ. https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ocsc-2017-eb10.pdf